บทเรียน ออนไลน์ หลักสูตร ภาวะผู้นำ เพื่อความสำเร็จ
หลักสูตรภาวะผู้นำ การพัฒนาผู้จัดการ หรือ ผู้บริหาร
ผู้จัดการระดับต้น
พัฒนาทักษะสำหรับ ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือหัวหน้างาน ที่เริ่มต้นการเป็นผู้จัดการหรือเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการ ทำให้เข้าใจแนวทางในการบริหารจัดการทีมงาน สร้างผลงานจากการทีมงานได้อย่ามีประสิทธิภาพ
ผู้จัดการระดับกลาง
เพื่อให้ ผู้บริหารหรือผู้จัดการ ได้ทบทวนความเข้าใจสำหรับผู้จัดการหรือผู้บริหารที่มีประสบการณ์ เข้าใจแนวการบริหารจัดการมาบ้างแล้ว ทำให้ทราบถึงปัญหาในการบริหารจัดการ สามารถที่จะสร้างสมดุลย์ในการบริหารจัดการ ทั้งการบริหารคน และ การบริหารงาน ทำให้ตนเองมีความโดดเด่นในการบริหารจัดการ
ผู้จัดการระดับสูง
สำหรับผู้บริหารชั้นสูง ที่มีหน้าที่กำกับดูแลผู้จัดการหรือผู้บริหาร เพื่อการบริหารจัดการจะมีแนวทางที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร
หลักสูตรเสริมเพิ่มเติม
ในการพัฒนา ผู้จัดการหรือผู้บริหารนั้น นอกจากความรู้ที่ต้องมีทั้ง 3 ระดับแล้ว ผู้จัดการหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีทักษะด้านอื่น ๆ ที่จะทำให้การบริหารจัดการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่จะพัฒนา “ภาวะผู้นำ” ให้กับ “ผู้นำ” องค์กร
ในการพัฒนาศักยภาพของ ผู้นำ ในองค์กรนั้น เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้นำ มีความรู้ ความเข้าใจ จนสามารถนำไปปฏิบัติได้ เครืองมือ ที่จะพัฒนา ภาวะผู้นำ ให้กับ ผู้นำ ให้มีประสิทธิภาพในการนำ และเพื่อครอบคุมองค์ประกอบของความสำเร็จ คือการพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง หรือ Self-Leadership ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ (knowledge) สร้างความเข้าใจ (Understand) เพื่อเกิดทักษะ ความชำนาญ (Skills) และ ปรับมุมมอง ทัศนคติ (Attitude) ที่ดี ในการปฏิบัติงาน จนกระทั่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อสร้างผลสำเร็จในการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตของบุคลากรนั้นๆ
ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนา “ภาวะผู้นำ” หรือ “Leadership” ในองค์กร
Effective Leadership for Excellent Performance
“ภาวะผู้นำ” หรือ “Leadership” เป็นหัวใจของความสำเร็จในการบริหารองค์กร “ภาวะผู้นำ” หรือ “Leadership” เป็นผู้สร้าง ผู้พัฒนา แต่ในทางกลับกันอาจเป็นผู้ทำลายได้เช่นกัน กระบวนการพัฒนาความสำเร็จของพนักงานให้มี “ภาวะผู้นำ” หรือ “Leadership” นั้น เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง การใส่ความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบด้วยกันอยู่หลายประการ
โดยมีหลักสำคัญคือการเลือกเครื่องมือเพื่อที่จะทำให้พนักงานสามารถที่จะพัฒนาตนเอง ด้วยตัวเอง เข้าใจด้วยตนเอง สร้างแรงจูงใจในตนเองได้ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่มากสุดสำหรับผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำหรือผู้บริหารในองค์กร
“อย่าคิดที่จะบริหารผู้อื่น ถ้าคุณยังไม่สามารถบริหารตนเอง”
“Self-Leadership” โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
เมื่อไรก็ตามที่ผู้นำสามารถที่จะเข้าใจในความต้องการของตนเอง สามารถที่จะรู้ช่วงเวลาในการที่จะพัฒนาตนเอง ผ่านกระบวนการของการสร้างแรงจูงใจในตนเอง ซึ่งความเข้าใจในการพัฒนาตนเอง หรือ การสร้าแรงจูงใจนั้น นำไปสู่ประตูของความสำเร็จ ซึ่งความสำเร็จของผู้นำนั้นต้องมีความสำเร็จทั้ง 8 ด้านดังนี้
1) ผลสำเร็จขององค์กร
“ผู้นำ” จำเป็นต้องมองผลสำเร็จขององค์กรให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของตนเอง เพื่อการ เจริญเติบโตไปด้วยกันกับองค์กร
2) การทำงานเป็นทีม
“ผู้นำ” จำเป็นต้องมองทีมงานไปในทิศทางเดียวกัน มีความช่วยเหลือผสมผสานการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ภาวะผู้นำ
“ผู้นำ” จำเป็นต้องเข้าใจหลักการนำหรือมีจิตวิทยาในการบริหารจัดการให้ทีมงานมีความสุข ปรารถนาในการทำงานมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองเพื่อความสำเร็จในการทำงาน เป็น “ผู้จัดการอัจฉริยะ” หรือ “The Super Manager”
4) การบริหารทีมงาน
“ผู้นำ” จำเป็นต้องมีหลักการในการบริหารทีมงานให้มีแนวทางที่ขจัดหรือลดข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกคนอยู่รวมกันโดยมีเป้าหมายองค์กรเป็นที่ตั้ง
5) การสื่อสารและการฟัง
“ผู้นำ” จำเป็นต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างตั้งใจ และทำความเข้าใจกับทีมงานและผู้อื่น อีกทั้งมีกระบวนกมรในการสื่อสาร การพูด การอธิบาย “กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง” และ มี “จิตวิทยาวาทศิลปและการโน้มน้าวใจ” ได้อย่างมีประสิทธาพ
6) การสร้างแรงจูงใจ
“ผู้นำ” จำเป็นต้องมีหลักการในการสร้างแรงจูงใจ การกระตุ้น การสร้างความรู้สึกต้องการที่จะทำงาน พัฒนาตนเอง ให้กับพนักงาน ตรงกับหลักการเป็น “ผู้จัดการอัจฉริยะ” หรือ “The Super Manager”
7) การคิดนอกกรอบ Think Out of The Box หรือ ความคิดสร้างสรรค์
“ผู้นำ” จำเป็นต้องมีความสามารถใน การคิดนอกกรอบ Think Out of The Box หรือ ความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking เพื่อเป็นการจุดประกายให้ทีมงานคิดสิ่งใหม่ ๆ ได้ผลงานใหม่ ๆ และเข้าใจอย่างลึกซื้งกับคำ ว่า “แตกต่าง หรือ ยอมตาย” ซึ่งเป็๋นแนวคิดของ “หลักสูตร การคิดนอกกรอบ Think Out of The Box”
8) การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making)
“ผู้นำ” จำเป็นต้องมีเกณฑ์ในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา และมีแนวทางการตัดสินใจที่ดี ทำให้ขจัดความผิดพลาดในการตัดสินใจ แนวทางการตัดสินใตตาม หลักสูตร การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) เป็นแนวคิดที่ต้องมีตรรกหรือเหตุผลที่ดี เป็นมาตรฐานสากลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
ชมที่มาของ หลักสูตร ผู้จัดการอัจฉริยะ และ แนวทางการบริหารจัดการ ของ ผู้นำ หรือ ผู้บริหาร
Manager School Profile
ผู้จัดการหรือผู้บริหารมีความสำคัญสำหรับองค์กรเป็นอย่างยิ่ง แต่หลักสูตรผู้จัดการ หรือหลักสูตรผู้บริหาร ที่เป็นสากลมาเผยแพร่ มีจำนวนไม่มาก ซึ่งการพัฒนาผู้จัดการหรือผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพขององค์กร นั้นมีความสำคัญ สถาบัน Manager School มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลญี่ปุ่น ไปศึกษาหลักสูตรการเป็นวิทยากรในเรื่องการบริหารจัดการเพื่อถ่ายทอดให้ผู้บริหารหรือให้ผู้จัดการ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ผ่านการค้นคว้าวิจัย มาถ่ายทอดเพื่อการพัฒนาผู้จัดการหรือผู้บริหารให้มีความรู้เป็นสากลในการบริหารจัดการทีมงานในแง่มุมการบริหารจัดการแบบ 360 องศา
เป็นสถาบันแห่งการพัฒนาศักยภาพ และเสริมคุณ ค่าให้ กับผู้บริหารหรือผู้จัดการ ผ่านหลักสูตรผู้จัดการ โดยให้ผู้จัดการเป็น “ทุนที่สำคัญขององค์กร” ด้วยกระบวนการพัฒนา โค้ชชิ่ง ที่มีมาตรฐานและชัดเจน
1) พัฒนาหลักสูตรอบรม หลักสูตรผู้จัดการ ที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการระบบโค้ชชิ่ง(Coaching)
2) ส่งเสริมจริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethic) ให้กับผู้จัดการได้นำไปปฏิบัติใช้
3) สร้างค่านิยม ปรับทัศนคติ ให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการทุกคน มีความภูมิใจในอาชีพของตนเอง
4) สร้างเครือข่ายนักธุรกิจ โดยเฉพาะผู้บริหารหรือผู้จัดการ ให้เป็นรูปธรรม ผ่านการเรียนรู้ในหลักสูตรผู้จัดการ
ทักษะสำหรับ ผู้จัดการหรือผู้บริหาร
- การบริหารจัดการ 95%
- การเจรจาต่อรอง 86%
- การสื่อสารและการโน้มน้าวใจ 95%
- การสื่อสาร 80%
- การแก้ปัญหาและตัดสินใจ 90%
แนวทางการพัฒนา “ภาวะผู้นำในตนเอง” Self-Leadership
เป็นจริงดังคำกล่างที่ว่า “อย่าคิดไปบริหารผู้อื่น ถ้าคุณไม่สามารถบริหารตนเองได้”
กระบวน “การพัฒนาผู้นำในตนเอง” เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นใน การพัฒนาเตรียมความพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำหรือผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
“ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ แต่จะทำอย่างไร ให้ได้ ความสำเร็จมาในระยะเวลาอันสั้น”
การพัฒนาผู้นำ จึงต้องอาศัยแก่นแท้ของหลักวิชา ที่จะทำให้ผู้นำ มีความเข้าใจ สามารถที่จะพัฒนาทักษะผู้นำในตนเอง เพื่อความมั่นใจในการเป็นผู้นำผู้อื่น
แนวทาง การพัฒนาภาวผู้นำในตนเอง Self-Leadership
ใน “การพัฒนาภาวะผู้นำ” ในตนเองนั้น มุ่งเน้น 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ของกระบวนการ ที่จะทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถที่จะสร้าง และ พัฒนาภาวะผู้นำ ได้ หรือ ได้แก่
ขั้นที่ 1: เข้าใจตนเอง เข้าในสภาวะแวดล้อม: Exploring the present
- การเข้าใจตนเองและสภาวะแวดล้อมต้องถูกนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ ในทุกมิติทั้งในแง่ที่ดีและในแง่ที่ไม่ดี ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่เรื่องง่ายในการวิเคราะห์ตนเองแต่เป็นความสำคัญที่จะต้องเข้าใจตนเองเพื่อสร้างภาวะผู้นำในตนเอง
ขั้นที่ 2: เป้าหมายของตนเอง เป้าหมายองค์กร: Visioning the Future
- เป็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของชีวิตที่ชัดเจน ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้ อธิบายได้ว่าความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงคืออะไร ซึ่งมุมมองที่อยากจะเป็นในอนาคตนั้น มีความสำคัญที่จะทำให้คนเปลี่ยนไป เพราะถ้าคนใดที่ขาดเป้าหมายก็จะทำให้ขาดเครื่องมือที่จะใช้ในการขับเคลื่อน ขาดความคิดสร้างสรรค์ที่จะสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตนเอง ดังนั้นถ้าใครก็ตามปราศจากความต้องการที่แท้จริง ก็จะทำให้มีโอกาสในการบรรลุถึงเป้าหมายในตนเองได้น้อยลง ส่งผลทำให้การทำงานไม่ประสบความสำเร็จ
ขั้นที่ 3: เข้าใจผู้อื่น สื่อสารและโน้มน้าวใจผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ Effective Communication and Persuasion
- ขั้นที่สาม เป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถที่จะลดช่องว่างในการสื่อสารเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาทักษะในการโน้มน้าวใจ ใช้วาทะศิลป์ในการสื่อสารได้อย่างมีปสิทธิภาพ
ขั้นที่ 4: ปิดช่องว่าง: Bridge the Gap
- ขั้นที่สี่เป็นขั้นตอนของการเสริมจุดแข็ง ลบจุดอ่อน ลดช่องว่างที่จะทำให้ตนเองไม่ประสบความสำเร็จ การวางแผนที่จะเปลี่ยนเพื่อลดช่องว่าง จึงเป็นความสำคัญทั้งในมุมของคุณภาพและปริมาณ คือต้องมีปริมาณที่เหมาะสมกับคุณภาพที่ดีเพียงพอที่จะยกระดับของตนเอง ซึ่งต้องมีงานหลักที่ต้องทำเพื่อปิดช่องว่างหรือจุดอ่อนที่ตนเองมีอยู่
หลักสูตร การคิดนอกกรอบ Think Out of The Box หรือ การคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking
– ตามแนวคิด การคิดนอกกรอบสมัยใหม่ ที่อาศัยฐานการทำงานของสมอง เพื่อมาพัฒนาแนวคิด ของ การคิดนอกกรอบ ซึ่งเป็นการพัฒนาความคิดที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง หรือ Brain-Base Learning: Neuroscience
“การคิดนอกกรอบ” ในอดีตนั้นอาจจะใช้เครื่องมือมิติเดียวเพื่อที่จะพัฒนาแนวคิดของมนุษย์ให้มีความคิดที่นอกกรอบหรือ Think Out of The Box หรือหลายคนอาจเรียกว่า เป็น ความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking ซึ่งในสภาพของการทำงานจริงนั้น พบว่า ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาแนวคิดให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นได้มากนัก เพราะการพัฒนาความคิดที่แท้จริงก็คือการพัฒนาสมอง พัฒนาการทำงานของสมองให้สามารถที่จะคิดสิ่งใหม่ ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking หรือ การคิดนอกกรอบ Think Out of The Box มีนักประสาทวิทยา(neuroscience) ได้ทำการค้นคว้า วจัย เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของสมอง เพราะสมองเป็นอวัยวะเดียวที่ทำการควบคุมร่างกายทั้งหมด
แนวทางในการพัฒนาสมองเพื่อให้มีศักยภาพ ในการคิดนอกกรอบหรือ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สมัยใหม่ จึงนำผลจากวิจัยด้านการทำงานของสมองหรือที่เรียกว่า Brain Base Learning ทำให้ได้รับความเข้าใจใหม่ ๆ ในการพัฒนาสมองให้สามารถที่จะคิดนอกกรอบ มีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ความฉลาด เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งมีคุณค่ากับคนใดคนหนึ่งหรือกับคนหลาย ๆ คน
ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป”
โฮวาร์ด การ์ดเนอร์
จากการวิจัยของ โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ ผู้คิด ทฤษฎีพหุปัญญา หรือ Theory of Multiple Intelligence พบว่าความฉลาดของคนนั้นประกอบไปด้วยความฉลาดทั้ง 8 ด้าน ดังนั้นการพัฒนาการคิดนอกกรอบ จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ 8 ด้าน เพื่อพัฒนาการคิดนอกกรอบ ดังนี้
1) ด้านการพัฒนาด้านดนตรี 2) ด้าน การเคลื่อนไหวร่างกาย 3) ด้านตรรกะหรือคณิตศาสตร์ 4) ด้านมิติสัมพันธ์ 5) ด้านภาษา 6) ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 7) ด้านความเข้าใจธรรมชาติ 8) ด้านความเข้าใจตนเอง
การพัฒนาการคิดนอกกรอบ Think Out of The Box จำเป็นที่จะตัองพัฒนาโดยอาศัยพื้นฐานทางสมองหรือ Brain Base Learning ซึ่งต้องพัฒนา ความสัมพันธ์ ของทักษะทั้ง 8 ด้าน ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อเป็นการพัฒนา การคิดนอกกรอบแบบองค์รวม หรือ Holistic Think Out of The Box โดยกระบวนการในการพัฒนาการทำงานของสมองให้มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือการพัฒนาวิธีการคิด แนวการคิด เพราะการคิดเป็นต้นแห่ง การกระทำต่าง ๆ ที่จะเป็นผลที่ตามมา การพัฒนาเพียงความคิดให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานคิดได้ คิดเป็น คือสิ่งที่ดีกับองค์กร แต่แนวคิดการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่นั้น การคิดเป็นไม่เพียงพอต่อการพัฒนาก้าวหน้าขององค์กร เพราะการคิดได้ หรือการคิดเป็นเท่ากับพัฒนาให้พนักงานรู้ถึงความสำคัญของการคิด ซึ่งอาจจะไม่ได้สิ่งใหม่ ๆ หรือความแตกต่างออกมา ในองค์กรชั้นนำระดับโลกจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้พนักงานของตนเองนั้นมีวิธีการคิดที่แตกต่างนอกจากกรอบ หรือให้มีความคิดสร้างสรรค์ จากความคิดเดิม ๆ ที่มีอยู่
หลักสูตร “การคิดนอกกรอบ (Think out of The Box)-Brain Base Learning” จึงถูกออกแบบตามหลักธรรมชาติของการทำงานของสมองซึ่งเป็นหลักสากลที่นำมาใช้ คือการใช้ฐานสมองเป็นที่ตั้งและพัฒนาความคิดนอกกรอบที่เรียกว่า Brain-Base-Learning ของการ ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นวิธีของการพัฒนาความคิดที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่จะผลักดันแนวความความคิดที่นอกกรอบให้ถึได้ผลลัพธ์นำออกมาใช้ให้มากที่สุด และสามารถนำไปสู่การหาผลลัพธ์ของความคิดนอกกรอบ เพื่อนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกำลังหรือทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาองค์กร และถ้าองค์กรใดที่สามารถจะมีนักคิดสร้างสรรค์ได้มากเท่าใด ก็เท่ากับว่าสามารถที่จะสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจมากเท่านั้น
%
ทำงานเพื่อผลงานของผู้บริหาร 70% งานเพื่อองค์กร 30%
บุุคลิกลักษณะของผู้จัดการหรือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ
%
การพัฒนาตนเอง
%
การมีวินัย
%
ความปราถนา
%
การทำงานเป็นทีม
คำถามที่พบบ่อยในการอบรมผู้จัดการหรือผู้บริหาร
คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามที่ผู้เข้าอบรมมัมมนาในหลักสูตรผู้จัดการทั้ง 3 ระดับได้มีประเด็นข้อสงสัย ซึ่งเป็นมุมมองที่เป็นประโยชน์ให้แก่ ผู้จัดการหรือผู้บริหาร ทำให้ได้รับทราบถึงแนวทางการตัดสินใจจากคำถาม
ผู้จัดการควรพิจารณาจากพนักงานที่ทำงานเก่งดีหรือไม่?
เลือกได้นะครับ ถ้าพนักงานคนนัั้นมีทักษะในการบริหารจัดการ เพราะทักษะของการบริหารงานกับทักษะในการทำงานเป็นคนละทักษะกัน หมายความว่า คนบางคนอาจทำงานเก่ง แต่อาจบริหารงานไม่ได้ก็ได้ ต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการบริหารงานก่อนขึ้นเป็นผู้จัดการครับ
พนักงานไม่ค่อยเชื่อฟังการบริหารจัดการของตนเอง
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าถ้าผู้จัดการคนใดเผชิญกับสิ่งนี้ ต้องเร่งส้างศรัทธา บารมีให้ตนเองมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งส่วนใหญ่ศรัทธาก็มาจากความรู้ ความสามารถและความเข้าใจในการบริหารงานบุคคลนั่นแหละครับ
ควรจะพัฒนาตนเองก่อนหรือรอได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นผู้จัดการก่อน จึงค่อยพัฒนา
ถ้ารอให้ได้รับการเลื่อนขั้นก่อน จึงคิดที่จะมา พัฒนาภาวะผู้นำ หรือ พัฒนาผู้จัดการ อาจไม่ทันกาล เพราะถ้าได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็น ผู้นำ ผู้จัดการหรือผู้บริหารก็จะถูกคาดหวังว่าจะทำงานการบริหารได้ทันที จึงควรที่จะเรียน จะอบรม จะเข้าสัมมนา ในหลักสูตรผู้จัดการอัจฉริยะ หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ ผู้บริหาร เก็บไปไว้เลย จะเป็นประโยชน์กับตนเองนะครับ
10 พฤติกรรม ที่ “ผู้จัดการ” ต้อง ลด ละ เลิก
ในการบริหารจัดการนั้น ขอให้เข้าใจว่า คุณกำลังถูกส่องจากคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน ลูกน้อง หรือ เพื่อนร่วมงาน ผู้จัดการ ส่วนใหญ่มักคิดว่าตนเองมีความสามารถที่ดีมาก หรือทำงานได้ดี มีผลงานเข้าตาผู้บริหารระดับสูงจนได้รับการเลื่อนขั้นเป็นผู้จัดการ...
คำนิยม
เป็นการสัมมนาที่จัดได้ดี ทั้งในส่วนของการนำเสนอหัวข้อการสัมมนา และการยกตัวอย่างปรกอบ ทำให้เข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน วิทยากรให้คำแนะนำ และแทรกประสบการณ์ระหว่างการสอนซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาระบบงานต่างๆได้เป็นอย่างดี
คุณอนุชา วราศรัยการได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนา หลักสูตรกับท่านอาจารย์ที่มีความชำนาญโดยตรง มีความประทับใจทั้งเนื้อหา เหตุการณ์ต่างๆที่อาจารย์นำมาเล่าล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ปัญหาที่กำลังประสบ ฟังแล้วเข้าใจและ “คลิ๊ก” เลย ซึ่งอาจารย์จะไม่สอนแต่ทฤษฎี แต่ท่านนำเหตุการณ์ในชีวิตจริงมาสอน ชอบการเรียนแบบนี้เพราะถือว่านำไปใช้ได้จริง ขอบคุณบริษัทและอาจารย์มากๆค่ะ
คุณสิรีนาถ คำมันผมคิดว่าตัวเองโชคดีมากๆ ที่ทางบริษัทเห็นความสำคัญของหลักสูตรนี้และส่งผมมาเรียนกับท่านอาจารย์อีกครั้ง ทั้งๆที่เคยเรียนมาแล้ว 3 ครั้ง แต่นานมากแล้ว ครั้งนี้กลับมาเรียนในฐานะผู้บริหารก็ดีใจและได้นำความรู้ที่ได้กลับไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และจริงจัง โอกาสหน้าหวังว่าจะได้มาเรียนกับอาจารย์อีกนะครับ/ขอบพระคุณครับ
คุณวิชา สมชาติ